เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้น ไม่เห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีสมันตจักขุ1
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่ามีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยสมันตจักขุ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า
พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ได้ทรงแสดง
คำว่า ธรรมที่เป็นพยาน ในคำว่า ธรรมที่เป็นพยาน อันเป็นเครื่องกำจัด
อันตราย อธิบายว่า ธรรมที่พระองค์ทรงทราบเอง ธรรมที่ประจักษ์แก่พระองค์เอง
มิใช่โดยการเชื่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยการเล่าลือ มิใช่
โดยการถือสืบ ๆ กันมา มิใช่โดยการอ้างตำรา มิใช่โดยตรรก มิใช่โดยการอนุมาน
มิใช่โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล มิใช่เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
รวมความว่า ธรรมที่เป็นพยาน

ว่าด้วยอันตราย 2 อย่าง
คำว่า อันตราย ในคำว่า อันเป็นเครื่องกำจัดอันตราย ได้แก่ อันตราย
2 อย่าง คือ (1) อันตรายที่ปรากฏ (2) อันตรายที่ไม่ปรากฏ
อันตรายที่ปรากฏ คืออะไร
คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว สุนัขป่า โค กระบือ ช้าง งู
แมงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ได้ก่อกรรมไว้ หรือยังมิได้ก่อกรรมไว้ โรคทางตา
โรคทางหู โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคศรีษะ โรคหู โรคปาก โรคฟัน
โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้พิษ ไข้เชื่อมซึม โรคท้อง เป็นลมสลบ ลงแดง จุกเสียด

เชิงอรรถ :
1 ขุ.จู. 30/85/196, ขุ.ป. 31/121/136-137

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :431 }